หัวข้อที่ศึกษา รายงานพัฒนาทักษะการคิดทางภาษาไทย โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative learning)
เรื่อง อ่านป้ายได้สาระ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ทำการศึกษา นายมงคล ญาติสังกัด
สถานที่ทำงาน โรงเรียนชุมชนบ้านโคกสี อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3
ปีที่ทำการศึกษา ปีการศึกษา 2552
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานการพัฒนาทักษะการคิดทางภาษาไทย โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative learning) ที่สร้างขึ้น กลุ่มเป้าหมาย
ในการศึกษาครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านโคกสี อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 3 เรื่อง อ่านป้ายได้สาระ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2) แบบทดสอบท้ายวงจร จำนวน 3 ฉบับ ฉบับละ 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยที่ 3 เรื่อง อ่านป้ายได้สาระ จำนวน 1 ฉบับ 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพเครื่องมือใช้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ( IOC )
การศึกษาพบว่า 1) การทำแบบทดสอบท้ายวงจรของนักเรียนพบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะการคิดทางภาษาไทย แบบร่วมมือกันเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านโคกสี ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นพบว่า วงจรที่ 1 วงจรที่ 2 และวงจรที่ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวม คือ ร้อยละ 84.35 87.61 และร้อยละ 88.48 เพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 7 0 2 ) ผลจากการประเมินทักษะการคิดของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะการคิดทางภาษาไทยแบบร่วมมือกันเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านโคกสี ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น พบว่า ในวงจรที่ 1 วงจรที่ 2 และวงจรที่ 3 นักเรียนมีคะแนนทักษะการคิด คิดเป็นร้อยละ 79.10 80.80 และ 82.90 เพิ่มขึ้นตามลำดับ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 70 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีพัฒนาการทักษะการคิดเพิ่มขึ้น
3) พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียน ตามแบบประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้นสนใจ ตั้งใจเรียน มีสมาธิในการเรียนรู้ อ่านและสรุปใจความสำคัญของสาระการเรียนรู้ กล้าแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล กล้าพูดสื่อสาร ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ให้ความร่วมมือในการทำงานกับเพื่อน ๆ เป็นอย่างดี นักเรียนที่เรียนอ่อนกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออกมากขึ้น ในการร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 15 แผน
การเรียนรู้ นักเรียนทุกกลุ่มมีความเข้าใจกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มดีขึ้น
แบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative learning)
เรื่อง อ่านป้ายได้สาระ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ทำการศึกษา นายมงคล ญาติสังกัด
สถานที่ทำงาน โรงเรียนชุมชนบ้านโคกสี อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3
ปีที่ทำการศึกษา ปีการศึกษา 2552
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานการพัฒนาทักษะการคิดทางภาษาไทย โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative learning) ที่สร้างขึ้น กลุ่มเป้าหมาย
ในการศึกษาครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านโคกสี อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 3 เรื่อง อ่านป้ายได้สาระ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2) แบบทดสอบท้ายวงจร จำนวน 3 ฉบับ ฉบับละ 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยที่ 3 เรื่อง อ่านป้ายได้สาระ จำนวน 1 ฉบับ 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพเครื่องมือใช้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ( IOC )
การศึกษาพบว่า 1) การทำแบบทดสอบท้ายวงจรของนักเรียนพบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะการคิดทางภาษาไทย แบบร่วมมือกันเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านโคกสี ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นพบว่า วงจรที่ 1 วงจรที่ 2 และวงจรที่ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวม คือ ร้อยละ 84.35 87.61 และร้อยละ 88.48 เพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 7 0 2 ) ผลจากการประเมินทักษะการคิดของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะการคิดทางภาษาไทยแบบร่วมมือกันเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านโคกสี ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น พบว่า ในวงจรที่ 1 วงจรที่ 2 และวงจรที่ 3 นักเรียนมีคะแนนทักษะการคิด คิดเป็นร้อยละ 79.10 80.80 และ 82.90 เพิ่มขึ้นตามลำดับ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 70 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีพัฒนาการทักษะการคิดเพิ่มขึ้น
3) พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียน ตามแบบประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความกระตือรือร้นสนใจ ตั้งใจเรียน มีสมาธิในการเรียนรู้ อ่านและสรุปใจความสำคัญของสาระการเรียนรู้ กล้าแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล กล้าพูดสื่อสาร ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ให้ความร่วมมือในการทำงานกับเพื่อน ๆ เป็นอย่างดี นักเรียนที่เรียนอ่อนกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออกมากขึ้น ในการร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 15 แผน
การเรียนรู้ นักเรียนทุกกลุ่มมีความเข้าใจกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มดีขึ้น